Goooooogle Analytics

fancyfish

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

FAIRY BASSLET ปลาทอง แห่งท้องทะเล

siamese fighting fish,betta fish,fancyfish,Fighting fish,Betta splendens,fancy fish,gold fish,arowana,pet,pet shop,dog,dog training,cat,ปลาสวยงามของไทย,ปลากัด,ปลาหางนกยูง,ปลาหมอสี,ปลาทอง,ปอมปาดัวร์,อะโรวาน่า,ข่าวสารปลาสวยงาม,การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม,ธุรกิจปลาสวยงาม,


ปลาทอง FAIRY BASSLET
กฏเกณฑ์บางอย่างของโลกใต้ท้องทะเลนั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงจากกฏเกณฑ์บนโลกของเรา ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือในเรื่องของเพศ บนโลกของเรานั้นสิ่งมีชีวิตทั้งหลายถูกแบ่งออกเป็นหญิงและชายตั้งแต่กำเนิด และความเป็นหญิงหรือชายนั้นก็จะติดตัวของเราไปจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต แต่ในโลกใต้ทะเลนั้นมีหลาย ๆ ชีวิตที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้มีชีวิตที่แปลกออกไป

ผมอยากจะเล่าถึงอีกชีวิตหนึ่งที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติที่แตกต่างไปจากพวกเรา

ถ้ามีโอกาสได้ดำน้ำลงไปในแนวปะการัง โดยเฉพาะในแถบหมู่เกาะสิมิลัน
เราก็จะพบกับฝูงปลาสีสวยตัวเล็ก ๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ
กับปลาทองที่พบเห็นทั่วไปในตู้เลี้ยงปลา
ฝูงปลานั้นมักจะว่ายวนเวียนอยู่เหนือแนวปะการังสีสันสดใสในบริเวณน้ำตื้น ๆ

และถ้าสังเกตให้ดี ๆ ก็จะเห็นว่า
ในกลุ่มของปลาเหล่านั้นประกอบไปด้วยปลาที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน แต่ไม่เหมือนกันอยู่
๒-๓ ชนิดด้วยกัน

ฝูงปลาเหล่านี้ก็คือฝูงปลา Fairy basslet
ที่ในหนังสือโครงการใต้ทะเลจุฬาภรณ์ ๓๖ ระบุชื่อภาษาไทยว่าปลาทอง

ปลาทอง นับเป็นปลาที่อยู่ในตระกูลใกล้เคียงกันกับปลากะรัง
หรือที่เรามักจะเรียกว่าปลาเก๋า คือจัดอยู่ในวงศ์ Serranidae
เหมือน ๆ กัน แต่ปลาทองนั้นจะมีขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มที่เพียงประมาณ ๑๐ เซนติเมตรเท่านั้น ในขณะที่ปลากะรังเมื่อโตเต็มวัย อาจมีขนาดลำตัวมากกว่า ๑ เมตร !!!


ปลาทองนั้นพบมากทั่วไปในมหาสมุทรอินเดีย ดำรงชีวิตด้วยการลอยตัวอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เหนือแนวปะการัง เพื่อจับกินแพลงก์ตอนที่ล่องลอยปะปนมากับกระแสน้ำ ในฝูงของปลาทองแต่ละฝูงนั้น ประกอบไปด้วยปลา ๓ กลุ่มด้วยกัน คือ ปลาตัวเมียที่มีสีเหลืองอมส้ม ปลาตัวเมียนี้จะมีขนาดลำตัวโตไม่เกิน ๗ เซนติเมตร และนับเป็นปลาที่มีจำนวนมากกว่า ๙๐ เปอร์เซนต์ ในแต่ละฝูง

ปลากลุ่มที่ ๒ คือ
ปลาตัวผู้ที่มีลำตัวสีม่วงแดง มีแถบสีเหลืองบนลำตัว และบนครีบหลังมีกระโดงยื่นยาวออกไป ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ปลาตัวผู้มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ขึ้นมาโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๒ เซนติเมตร

ส่วนปลากลุ่มที่ ๓ คือ
ปลาตัวเมียในขณะที่กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลายเป็นตัวผู้ คือจะมีลักษณะกึ่งกลางระหว่างปลาตัวเมียและตัวผู้ ขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้นมันได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปถึงขั้นไหน ในบางครั้งเราจึงอาจจะเห็นปลาทองตัวสีเหลืองอมส้มที่มีครีบหลังยื่นยาวออกมาเหมือนกับปลาตัวผู้ ปะปนอยู่ในกลุ่มของปลาตัวเมีย

ในฝูงของปลาทองฝูงหนึ่ง ๆ นั้น จะมีอัตรส่วนระหว่างปลาตัวเมียและปลาตัวผู้ประมาณ ๑๐ : ๑ เมื่อมีจำนวนสมาชิกตัวเมียในฝูงเพิ่มขึ้น จำนวนของสมาชิกตัวผู้ก็จะเพิ่มขึ้นตาม โดยปลาตัวเมียบางตัวที่แข็งแรงในฝูงนั้นจะปรับตัวเองขึ้นมาให้เป็นตัวผู้ เพื่อให้สมดุลกับอัตราส่วนของสมาชิกในฝูง

สรุปว่าเมื่อแรกเกิดปลาทองทุกตัวจะเป็นปลาตัวเมีย แต่เมื่อเติบโตขึ้นจนเต็มวัยแล้วจะมีปลาเพียงบางตัวเท่านั้นที่จะปรับตัวเองให้กลายเป็นปลาตัวผู้ เมื่อปลาตัวผู้ในฝูงมีจำนวนลดลงหรือมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น

แม้จะฟังดูแปลก ๆ แต่ผมก็เชื่อว่าธรรมชาตินั้นมีเหตุผลสำหรับทุก ๆ กฎเกณฑ์บนโลกใบนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นกับบทความนี้