Goooooogle Analytics

fancyfish

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ถึงเวลาหรือยัง กับมาตราฐานปลากัดไทย

siamese fighting fish,betta fish,fancyfish,Fighting fish,Betta splendens,fancy fish,gold fish,arowana,pet,pet shop,dog,dog training,cat,ปลาสวยงามของไทย,ปลากัด,ปลาหางนกยูง,ปลาหมอสี,ปลาทอง,ปอมปาดัวร์,อะโรวาน่า,ข่าวสารปลาสวยงาม,การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม,ธุรกิจปลาสวยงาม,


ถึงเวลาหรือยัง กับการสร้างมาตราฐานปลากัดไทย






ต้องยอมรับด้วยเหตุผลส่วนตัว ผมเองเป็นคนที่ชื่นชอบความสวยงามของ ปลากัด
มากกว่า ปลาสวยงาม ชนิดอื่น
และด้วยเหตุผลนี้เองที่นำผมเข้ามาสู่วงการปลาสวยงาม ไม่ใช่ในฐานะพ่อค้า
คนเพาะปลาขาย แต่มาในฐานะของคนที่ชอบ รัก และอยากให้คนอื่นรัก ชอบ
ปลาสวยงาม เหมือนกับเรา ดังนั้น


www.thaifancyfish.com


จึงเกิดขึ้น เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และข้อมูลการเลี้ยงปลาสวยงาม
รวมถึงเป็นที่ระบายความอัดอั้นตันใจของคนรักปลาทุกคน

อย่างที่ผมกล่าว โดยส่วนตัวผมชอบปลากัด และเลี้ยงปลากัดมากกว่าปลาสวยงามอื่นๆ แต่บางครั้งผมเองก็ยังคงสับสนกับคำว่าว่า ปลากัดสวยงาม เพราะทุกวันนี้เวลาที่ผมเดินเข้าไปในตลาดปลา ไม่ว่าจะที่ซันเดย์ หรือที่สนามหลวงสอง หรือแม้นแต่ตลาดปลาสวยงามแห่งอื่นๆ ผมก็ยังหาความเป็นหนึ่งเดียวของคำว่าปลากัดสวยงามไม่เจอ เพราะมันไร้ซึ่งมาตราฐานกำหนด ไม่มีความชัดเจนในเรื่องของสีสัน รูปทรง
หรือแม้นแต่ชื่อเรียก ล้วนแต่ทำกันไปแบบมุมใครมุมมัน หากเป็นแบบนี้สังคมปลากัดหรือแม้นแต่ปลาสวยงามชนิดอื่นๆ มันจะเดินไปในทิศทางไหน

โดยเฉพาะเมื่อมีการประกวดปลาสวยงาม จะยิ่งเห็นได้ชัดเจนในความไร้เอกภาพของปลากัด ไม่มีการกำหนดกฏเกณท์ ที่ชัดเจนทำให้มีเพียงพูดประกวดปลาหน้าเดิมๆเท่านั้นที่ส่งปลาเข้าประกวด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านหรือฟาร์มไม่ก็เป็นผู้ส่งออกปลา
tran shipper ที่มีการจับปลาเพื่อส่งขายต่างประเทศเท่านั้น และเมื่อมีการตัดสินก็จะมีเสียงบ่นด่าต่อว่า ตามหลังกันมา ไม่เห็นว่าปลาตัวนี้สวยเลย ปลาพรรคพวกกัน ไม่ยุติธรรม หนักหน่อยก็กรรมการตาถั่ว มั่นนิ่ม


มันถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่วงการปลากัดสวยงามจะต้องมีการจัดทำมาตราฐานปลากัดสวยงามไทย ให้เป็นที่ชัดเจน เพราะจะได้เกิดความยุติธรรม และไม่มีปัญหาในการตัดสินของกรรมการ เมื่อมีรูปแบบและมาตราฐานของปลาที่ชัดเจนไม่ว่าจะเรื่องรูปทรงสีสัน ชื่อเรียกชนิดและสายพันธุ์ เมื่อไม่มีความสับสน เรื่องคำครหาก็จะเบาบางลง และที่สำคัญ คนที่จะเข้ามาเลี้ยงปลากัดสวยงามจะได้มีมุมมองที่ชัดเจนในเลือกซื้อปลา และขณะเดียวกันผู้เพาะปลากัด ก็จะได้มีแนวทางในการพัฒนาปลากัด ให้ตรงตามมาตราฐานเพื่อรองรับตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเอาปลามาเลขายให้เสียราคา ผู้ซื้อก็ไม่สับสนว่าปลาที่ซื้อมานั้นดีถูกต้องตามมาตราฐานสายพันธุ์หรือไม่ และเมื่อจะส่งเข้าประกวดกรรมการก็จะได้ตัดสินได้ง่ายขึ้น ไม่เกิดความสับสน หรือโอนเอียงไปเข้าข้างความรู้สึกชื่นชอบส่วนตัว

ทำไมผมต้องพุ่งเป้ามาที่ปลากัด ไม่ใช่เพราะผมชอบปลากัดมากกว่าปลาสวยงามชนิดอื่น
แต่เพราะปลากัดเป็นปลาสวยงามของไทยแท้ๆที่ขึ้นไปผงาดบนตลาดโลก และเป็นปลาสวยงามที่อยู่ในอันดับต้นๆของนักเลี้ยงปลาสวยงาม
และยังเป็นปลาสวยงามที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดของปรเทศ และด้วยชื่อ
Siamese fighting fish ปลานักสู้จากประเทศสยาม ยิ่งทำให้ผมรู้สึกกระหยิ่มยิ้มย่องว่า มันคือตัวแทนของประเทศไทย ประเทศของพวกเรา










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นกับบทความนี้