Goooooogle Analytics

fancyfish

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การทำธุรกิจฟาร์มปลาสวยงาม เพื่อการส่งออก

siamese fighting fish,betta fish,fancyfish,Fighting fish,Betta splendens,fancy fish,gold fish,arowana,pet,pet shop,dog,dog training,cat,ปลาสวยงามของไทย,ปลากัด,ปลาหางนกยูง,ปลาหมอสี,ปลาทอง,ปอมปาดัวร์,อะโรวาน่า,ข่าวสารปลาสวยงาม,การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม,ธุรกิจปลาสวยงาม,

การทำธุรกิจฟาร์มปลาสวยงามเพื่อการส่งออก กับสิ่งที่คุณควรเข้าใจ


ในปัจจุปันตลาดปลาสวยงามโตแบบไปเรื่อยๆแม้นจะไม่มีแรงหนุนจากทางรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือก็ตามที แต่ธุรกิจด้วนปลาสวยงามก็ยังคงเดินหน้าไปได้ด้วยภาคเกษตรของเราเองและจากนักเพาะเลี้ยงทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น การเติบโตแบบช้าๆนี้หากเราผู้ที่สนใจเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นธุรกิจคงจะต้องคิดให้มากเพราะเวลานี้ตลาดโลกกำลังเปลี่ยน ผู้บริโภคต้องการปลาที่มีคุณภาพสวยงามถูกต้องตามสายพันธุ์และสะอาดปลอดเชื้อโรค ดังนั้นเราจึงควรวางแผนให้ดีก่อนการผลิตปลาเพื่อจำหน่ายแม้นจะขายผ่านรังปลาหรือจะขายเองผ่านตลาดทั้งในและต่างประเทศ เรื่องของคุณภาพนั้นไม่ว่าสินค้าชนิดใดล้วนแต่เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นระบบการจัดการสถานที่ในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามจึงจำเป็นที่สุดที่เราต้องคำนึงถึง บ่อเพาะเลี้ยงควรมีความชัดเจนในการแยกชนิดและประเภทของปลา แยกเพศและไซด์ของปลาออกเป็นชุดๆ คัดแยกคุณภาพของปลาออกไว้เป็นเกรดและปลาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของตลาดก็ไม่ควรนำออกขาย แม้นจะเป็นการขายเพื่อเป็นปลาย่อยราคาถูก แต่สำหรับปลาขนาดเล็กอย่างปลากัด ปลาหางนกยูง หากปลาที่ไม่มีคุณภาพก็ให้คัดเอาไว้แล้วขายเป็นปลาเหยื่อไปอย่าไปหลอกขายว่าเป็นปลาเกรด และเมื่อบ่อเลี้ยงปลาไหนมีปลาป่วยก็ให้แยกปลาที่ป่วยออกนำไปไว้ยังบ่อที่แยกต่างหากที่ผมอยากจะเลี้ยงว่าบ่อพยาบาล แต่หากปลาบ่อนั้นเป็นโรคติดต่อกันแบบแก้ไม่หายให้ทิ้งทั้งบ่ออย่าเสียดาย และบ่อนั้นควรทำความสะอาดและตากพักบ่อไว้อย่างน้อยสองสัปดาห์ ข้อสำคัญปลาที่ป่วยก็อย่านำเอามาขายเป็นปลาเหยื่อนะครับเพราะมันจะสร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงปลาคนอื่น
ผมเองมีโอกาสไปเที่ยวดูปลาที่ฟาร์มปลาหลายแห่งต้องยอมรับครับว่าฟาร์มปลาบางแห่งมีระบบการจัดการที่ดีมาก เพราะเขามีพื้นที่ชัดเจนในการแยกประเภทของปลาไม่ให้มีการปะปนกันอย่างเด็ดขาดและมีการคัดแยกคุณภาพของปลาออกจากกันไปเลี้ยงเป็นชุดๆ ทำให้ง่ายกับผู้ที่มาติดต่อขอซื้อปลาไม่ว่าจะเอาไปเลี้ยงหรือขายต่อ ผมเองอยากให้ผู้ที่สนใจการเพาะเลี้ยงปลามีการจัดการระบบการเลี้ยงที่ดีแบบนี้เพราะว่ามันจะทำให้เราสามารถรักษาคุณภาพของปลาได้และแน่นอนมันทำให้ปลาที่มีของเราสามารถอัฟราคาได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่เพาะเลี้ยงปลาคนไทยมักไม่ให้ความสำคัญในเรื่องพวกนี้เพราะคิดว่ามันเป็นต้นทุนที่สิ้นเปลืองและต้องเสียเวลาเพราะปลาที่ได้มาจะมีจำนวนน้อย แต่สำหรับผู้ที่เพาะเลี้ยงปลาที่ไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่หากคุณคิดจะเลี้ยงเอาปริมาณไปขายนั้นผมว่าเป็นความคิดที่ผิดพลาดอย่างมากเพราะคุณไม่มีทางที่จะทำปริมาณได้มากด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ ดังนั้นการเลี้ยงปลาโดยเน้นที่คุณภาพของปลาจึงเป็นทางเลือกที่คุณควรจะนำไปคิด ในปัจจุปันนี้ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงเราหลายประเทศมีการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลกและพวกเขามีต้นทุนที่ต่ำอีกทั้งยังมีพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อเลี้ยงให้ได้ปริมาณมากๆ เราที่เวลานี้ยังเป็นผู้นำด้านการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามจึงควรมุ่งเน้นเรื่องของคุณภาพสายพันธุ์ให้มากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นเราคงต้องนั่งทำปลาราคาถูกเพื่อขายแข่งกับเขา หากเป็นแบบนี้เราคงได้แต่ช้ำเพราะเรื่องปลาราคาถูกๆที่ใครๆก็ทำได้