Goooooogle Analytics

fancyfish

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

เกลือกับปลา สิ่งที่นักเลี้ยงปลาควรรู้

siamese fighting fish,betta fish,fancyfish,Fighting fish,Betta splendens,fancy fish,gold fish,arowana,pet,pet shop,dog,dog training,cat,ปลาสวยงามของไทย,ปลากัด,ปลาหางนกยูง,ปลาหมอสี,ปลาทอง,ปอมปาดัวร์,อะโรวาน่า,ข่าวสารปลาสวยงาม,การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม,ธุรกิจปลาสวยงาม,


เกลือกับปลา สิ่งนักเลี้ยงปลาควรรู้



Image Hosted by Upload.TARAD.comนักเลี้ยงปลาสวยงามบางคนเลี้ยงปลาด้วยความเชื่อผิด ๆ
เชื่อเพราะว่าเป็นเรื่องที่บอกต่อ ๆ กันมา โดยไม่ได้ไตร่ตรองเหตุผล
แล้วก็นำไปปฏิบัติอย่างผิด ๆ บางครั้งก็ขัดกับหลักวิชาการ
ก่อให้เกิดผลเสียกับปลาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
หรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่าเป็นการทารุณปลาโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น
การแช่ปลาในน้ำเกลือเข้มข้น หรือการใส่เกลือลงในบ่อเลี้ยงปลาเป็นประจำ
บางคนนำปลาในบ่อที่ไม่ได้เจ็บป่วยขึ้นมาจากบ่อเลี้ยง นำมาแช่เกลือเดือนละ 1-2 ครั้ง
นานประมาณ 30 วินาที มีผลทำให้ปลาแสดงอาการทุรนทุราย
โดยอ้างเหตุผลว่าการทำเช่นนั้นเป็นการล้างตัวปลาให้ปลอดจากเชื้อโรค
หรือบางคนก็อ้างว่าทำให้ปลาผิวพรรณดี

เกลือเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านของผู้เลี้ยงปลาสวยงาม เพราะราคาถูก
แต่มีประโยชน์มาก เช่น ช่วยลดความเครียดให้ปลา ทำให้ปลาสดชื่น
ทำให้พิษของแอมโมเนียในน้ำลดลง และยังช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วย
แต่ถ้าใช้อย่างผิด ๆ ก็เหมือนดาบสองคมที่จะย้อนมาทำลายปลาได้เหมือนกัน

ผลเสียที่นำปลามาแช่น้ำเกลือ เช่น การแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีค่าความเค็มมากกว่า
20 ppt ขึ้นไปมีผลเสียต่อปลา คือ ความเค็มของเกลือเข้มข้นจะทำลายเซลล์ผิวของปลา
ทำให้ปลาสูญเสียเมือก ซึ่งเป็นเกราะช่วยป้องกันโรค เหงือกปลาจะฉีกขาดมีเลือดซึมและ
อาจจะทำให้ปลาตายได้

เรารู้ได้อย่างไรว่าเราต้องใช้เกลือเมื่อไหร่
ทางวิชาการเราอาจต้องใช้เกลือในการรักษาปลาที่มีบาดแผลบริเวณลำตัว เช่น
การตกเลือดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อโปรโตซัวบริเวณบาดแผล
สามารถรักษาได้โดยแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีความเค็มประมาณ 3-5 ppt จนกว่าแผลจะหาย
และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวบางชนิดได้ บาดแผลก็จะไม่ลุกลาม
ทำให้ปลามีสุขภาพดีขึ้น
การใช้เกลือรักษาบาดแผลที่ไม่ลุกลามมากจะได้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาหรือสารเคมี

Image Hosted by Upload.TARAD.comการใส่เกลือลงในบ่อเลี้ยงปลาเป็นประจำ
ผู้เลี้ยงปลาสวยงามนิยมใส่เกลือลงไปหลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค
หรือตามแต่โอกาสจะอำนวย การใช้เกลือช่วยในการรักษาบาดแผล
น้ำที่เลี้ยงมีค่าความเค็มระหว่าง 3-5 ppt (เกลือ 3.5 กก./ น้ำ 1 ตัน) หรือ เกลือ
3-5 ขีด / น้ำ 100 ลิตร จึงจะมีผลในการรักษา แต่น้ำมีค่าความเค็มต่ำกว่าที่กำหนด
ยังไม่มีการอ้างอิงทางวิชาการว่าจะเป็นประโยชน์หรือโทษต่อปลา
เกลือที่สะสมจะทำให้จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในน้ำตายระบบกรองมีปัญหา
แอมโมเนียในบ่อจะสูง และปลาอาจจะตายได้

การใช้ยาหรือสารเคมีรักษาปลา เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ดังนั้นควรป้องกันปัญหาโดยวิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อให้สะอาด
หมั่นทำความสะอาดระบบกรองและวัสดุกรองอย่างน้อยเดือนละครั้ง ให้อาหารที่ดีแก่ปลา
สังเกตพฤติกรรมของปลา เพียงเราเอาใจใส่ดูแลปลาของเราอย่างใกล้ชิด
ปลาของเราก็จะมีสุขภาพที่ดีได้