Goooooogle Analytics

fancyfish

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

เกลือกับปลา สิ่งที่นักเลี้ยงปลาควรรู้

siamese fighting fish,betta fish,fancyfish,Fighting fish,Betta splendens,fancy fish,gold fish,arowana,pet,pet shop,dog,dog training,cat,ปลาสวยงามของไทย,ปลากัด,ปลาหางนกยูง,ปลาหมอสี,ปลาทอง,ปอมปาดัวร์,อะโรวาน่า,ข่าวสารปลาสวยงาม,การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม,ธุรกิจปลาสวยงาม,


เกลือกับปลา สิ่งนักเลี้ยงปลาควรรู้



Image Hosted by Upload.TARAD.comนักเลี้ยงปลาสวยงามบางคนเลี้ยงปลาด้วยความเชื่อผิด ๆ
เชื่อเพราะว่าเป็นเรื่องที่บอกต่อ ๆ กันมา โดยไม่ได้ไตร่ตรองเหตุผล
แล้วก็นำไปปฏิบัติอย่างผิด ๆ บางครั้งก็ขัดกับหลักวิชาการ
ก่อให้เกิดผลเสียกับปลาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
หรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่าเป็นการทารุณปลาโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น
การแช่ปลาในน้ำเกลือเข้มข้น หรือการใส่เกลือลงในบ่อเลี้ยงปลาเป็นประจำ
บางคนนำปลาในบ่อที่ไม่ได้เจ็บป่วยขึ้นมาจากบ่อเลี้ยง นำมาแช่เกลือเดือนละ 1-2 ครั้ง
นานประมาณ 30 วินาที มีผลทำให้ปลาแสดงอาการทุรนทุราย
โดยอ้างเหตุผลว่าการทำเช่นนั้นเป็นการล้างตัวปลาให้ปลอดจากเชื้อโรค
หรือบางคนก็อ้างว่าทำให้ปลาผิวพรรณดี

เกลือเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านของผู้เลี้ยงปลาสวยงาม เพราะราคาถูก
แต่มีประโยชน์มาก เช่น ช่วยลดความเครียดให้ปลา ทำให้ปลาสดชื่น
ทำให้พิษของแอมโมเนียในน้ำลดลง และยังช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วย
แต่ถ้าใช้อย่างผิด ๆ ก็เหมือนดาบสองคมที่จะย้อนมาทำลายปลาได้เหมือนกัน

ผลเสียที่นำปลามาแช่น้ำเกลือ เช่น การแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีค่าความเค็มมากกว่า
20 ppt ขึ้นไปมีผลเสียต่อปลา คือ ความเค็มของเกลือเข้มข้นจะทำลายเซลล์ผิวของปลา
ทำให้ปลาสูญเสียเมือก ซึ่งเป็นเกราะช่วยป้องกันโรค เหงือกปลาจะฉีกขาดมีเลือดซึมและ
อาจจะทำให้ปลาตายได้

เรารู้ได้อย่างไรว่าเราต้องใช้เกลือเมื่อไหร่
ทางวิชาการเราอาจต้องใช้เกลือในการรักษาปลาที่มีบาดแผลบริเวณลำตัว เช่น
การตกเลือดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อโปรโตซัวบริเวณบาดแผล
สามารถรักษาได้โดยแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีความเค็มประมาณ 3-5 ppt จนกว่าแผลจะหาย
และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวบางชนิดได้ บาดแผลก็จะไม่ลุกลาม
ทำให้ปลามีสุขภาพดีขึ้น
การใช้เกลือรักษาบาดแผลที่ไม่ลุกลามมากจะได้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาหรือสารเคมี

Image Hosted by Upload.TARAD.comการใส่เกลือลงในบ่อเลี้ยงปลาเป็นประจำ
ผู้เลี้ยงปลาสวยงามนิยมใส่เกลือลงไปหลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค
หรือตามแต่โอกาสจะอำนวย การใช้เกลือช่วยในการรักษาบาดแผล
น้ำที่เลี้ยงมีค่าความเค็มระหว่าง 3-5 ppt (เกลือ 3.5 กก./ น้ำ 1 ตัน) หรือ เกลือ
3-5 ขีด / น้ำ 100 ลิตร จึงจะมีผลในการรักษา แต่น้ำมีค่าความเค็มต่ำกว่าที่กำหนด
ยังไม่มีการอ้างอิงทางวิชาการว่าจะเป็นประโยชน์หรือโทษต่อปลา
เกลือที่สะสมจะทำให้จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในน้ำตายระบบกรองมีปัญหา
แอมโมเนียในบ่อจะสูง และปลาอาจจะตายได้

การใช้ยาหรือสารเคมีรักษาปลา เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ดังนั้นควรป้องกันปัญหาโดยวิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อให้สะอาด
หมั่นทำความสะอาดระบบกรองและวัสดุกรองอย่างน้อยเดือนละครั้ง ให้อาหารที่ดีแก่ปลา
สังเกตพฤติกรรมของปลา เพียงเราเอาใจใส่ดูแลปลาของเราอย่างใกล้ชิด
ปลาของเราก็จะมีสุขภาพที่ดีได้

6 ความคิดเห็น:

  1. ดีจังครับ ทำให้ผมเข้าใจเรื่องการใช้เกลือในการรักษาปลามากขึ้น

    ตอบลบ
  2. ผม เลี้ยง ปลาหมอสี อยู่ ตอนนี่ลง หลุมไปละ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ9 พฤษภาคม 2554 เวลา 23:08

    ปลาเป็นแผลต่อมาตัวก็เปลื่อยเป็นปุยขาวๆจนเห็นข้างในเป็นรางๆ(โดนเครื่องเป่าเศษอาหารดูดตัวจนเป็นแผล)ควรจะรักษาอย่างไร

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2554 เวลา 08:10

    โชคดีมากที่เจอเว็บนี้
    ขอความรู้เพิ่มเติมกรุณาแนะนำด้วย
    เลี้ยงปลาหมอสีอายุ 10 ปี มีอาการนอนตะแคงซ้าย
    ว่ายได้กินได้ปกติ แต่ชอบนอนมากกว่าว่าย
    ถึงเวลากินก็ดีดตัวมากินแล้วก็นอนตะแคง นอนได้ทั้งวันทั้งคืน
    ถ้าแหย่ก็ดีดตัวว่ายมากงับๆ ได้ปกติ แล้วก็นอนตะแคงซ้ายตลอด
    เป็นมาแบบนี้ตั้งแต่ต้นปี
    หากจะใช้ดีเกลือมาช่วยรักษาจะช่วยได้หรือไม่? วันนี้ไปเดินจตุจักรมีพ่อค้าร้านหนึ่งแนะนำ แต่ยังไม่ได้หาซื้อมาใช้ กำลังค้นหาข้อมูลศึกษาข้อมูลวิธีการใช้
    กรุณาแนะนำด้วย, ขอบคุณมากคะ

    ตอบลบ
  5. อยากทราบว่าเมื่อเราเติมเกลือเข้าไป ทำไมเกลือถึงสามารถทำให้ปลาไม่เครียดได้คะ และส่งผลไปให้ปลาไม่เกิดโรคได้อย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอเพิ่มเติมคะ ในขณะที่เราขนส่งนะคะ

      ลบ

แสดงความคิดเห็นกับบทความนี้